ผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้า สภาวิศวกร แนะ “ปิดสวิซต์-ปลดทุกปลั๊ก” พร้อมเช็ค 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยง ก่อนทิ้งบ้านยาว
ผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้า สภาวิศวกร แนะ “ปิดสวิซต์-ปลดทุกปลั๊กไฟ” พร้อมเช็ค 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว อาทิ โทรทัศน์ พัดลม คอมพิวเตอร์ เต้ารับพ่วง โดยหากจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟไว้ควรตรวจสอบคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยอยู่เสมอ อาทิ สายไฟจะต้องติดตั้งได้มาตรฐานไม่มีรอยฉีกขาดและหมดสภาพการใช้งาน เต้ารับจะต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐานแบบมีสายดินและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรม ตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรและวิศวกรอาสาที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ความเสียหายเชิงโครงสร้างของอาคารและการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้า ฯลฯ ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก https://web.facebook.com/coethailand
นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 สภาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เผยว่า ทุกช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาวหลายวันต่อเนื่องประชาชนมักจะมีแผนเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นเวลานานจนอาจจะหลงลืมไปว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่จำเป็นต้อง ‘ปิด(สวิซต์)’ หรือ ‘ปลด(ปลั๊กไฟ)’ เมื่อไม่ได้ใช้งาน ในนาม ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า’ จากสภาวิศวกร จึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงย้ำเตือนภาคประชาชนถึงการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมเช็ค10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ทั้งไฟรั่ว ไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสฟ้าผ่ามาตามสายไฟฟ้า ได้แก่ โทรทัศน์ พัดลม คอมพิวเตอร์ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องดูดฝุ่น เตารีด หม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้า กาน้ำร้อน และไมโครเวฟ
“การปิดสวิซต์และปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นนั้น ดูคล้ายจะเป็นเรื่องเล็กน้อยจนอาจจะละเลยไปแต่การระมัดระวังอันตรายไว้ก่อนย่อมมีแต่ผลดี ทั้งการมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าช๊อตและทำให้เกิดอัคคีภัยตามมา ยังสามารถทำให้ลดการใช้พลังงานและลดค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือนนั้นๆ อีกด้วย”
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บางครัวเรือนจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟไว้ ทั้งตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ปั๊มน้ำ และเครื่องให้ออกซิเจนบ่อเลี้ยงปลา หรือจำเป็นต้องอาศัยอยู่ภายบ้านในช่วงเวลาดังกล่าว แนะนำว่าให้หมั่นตรวจสอบคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยอยู่เสมอ อาทิ สายไฟจะต้องติดตั้งได้มาตรฐานไม่มีรอยฉีกขาดและหมดสภาพการใช้งาน เต้ารับจะต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐานแบบมีสายดินและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะเต้ารับพ่วงที่ต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ต้องถอดออกและต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐาน สมอ. เท่านั้น เพราะเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยสูงสุด นอกจากนี้ การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยสร้างความเย็นสบายภายในบ้านอย่างพัดลม เครื่องปรับอากาศ ก็มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน หรือเลือกเปิดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรมตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรและวิศวกรอาสาที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าความเสียหายเชิงโครงสร้างของอาคาร ฯลฯ ได้ทั้งสายด่วน 1303 ไลน์ไอดี @coethai เพจเฟซบุ๊กhttps://web.facebook.com/coethailand ช่องทางยูทูบ (YouTube Channel) สภาวิศวกร Council of Engineers Thailand และเว็บไซต์ https://coe.or.th
ผู้เชี่ยวชาญไฟฟ้า สภาวิศวกร แนะ “ปิดสวิซต์-ปลดทุกปลั๊กไฟ” พร้อมเช็ค 10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว อาทิ โทรทัศน์ พัดลม คอมพิวเตอร์ เต้ารับพ่วง โดยหากจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟไว้ควรตรวจสอบคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัยอยู่เสมอ อาทิ สายไฟจะต้องติดตั้งได้มาตรฐานไม่มีรอยฉีกขาดและหมดสภาพการใช้งาน เต้ารับจะต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐานแบบมีสายดินและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรม ตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรและวิศวกรอาสาที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ความเสียหายเชิงโครงสร้างของอาคารและการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้า ฯลฯ ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก https://web.facebook.com/coethailand
นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายกสภาวิศวกร คนที่ 1 สภาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เผยว่า ทุกช่วงเทศกาลหรือช่วงที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ยาวหลายวันต่อเนื่องประชาชนมักจะมีแผนเดินทางท่องเที่ยวในต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นเวลานานจนอาจจะหลงลืมไปว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่จำเป็นต้อง ‘ปิด(สวิซต์)’ หรือ ‘ปลด(ปลั๊กไฟ)’ เมื่อไม่ได้ใช้งาน ในนาม ‘ผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้า’ จากสภาวิศวกร จึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงย้ำเตือนภาคประชาชนถึงการปฏิบัติดังกล่าว พร้อมเช็ค10 เครื่องใช้ไฟฟ้าสุ่มเสี่ยงก่อนทิ้งบ้านยาว เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดได้ ทั้งไฟรั่ว ไฟช็อต หรือไฟฟ้าลัดวงจร และกระแสฟ้าผ่ามาตามสายไฟฟ้า ได้แก่ โทรทัศน์ พัดลม คอมพิวเตอร์ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องดูดฝุ่น เตารีด หม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้า กาน้ำร้อน และไมโครเวฟ
“การปิดสวิซต์และปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นนั้น ดูคล้ายจะเป็นเรื่องเล็กน้อยจนอาจจะละเลยไปแต่การระมัดระวังอันตรายไว้ก่อนย่อมมีแต่ผลดี ทั้งการมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าช๊อตและทำให้เกิดอัคคีภัยตามมา ยังสามารถทำให้ลดการใช้พลังงานและลดค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือนนั้นๆ อีกด้วย”
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่บางครัวเรือนจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟไว้ ทั้งตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ปั๊มน้ำ และเครื่องให้ออกซิเจนบ่อเลี้ยงปลา หรือจำเป็นต้องอาศัยอยู่ภายบ้านในช่วงเวลาดังกล่าว แนะนำว่าให้หมั่นตรวจสอบคุณภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยอยู่เสมอ อาทิ สายไฟจะต้องติดตั้งได้มาตรฐานไม่มีรอยฉีกขาดและหมดสภาพการใช้งาน เต้ารับจะต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐานแบบมีสายดินและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะเต้ารับพ่วงที่ต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ต้องถอดออกและต้องใช้ชนิดที่ได้มาตรฐาน สมอ. เท่านั้น เพราะเป็นเหตุให้เกิดอัคคีภัยสูงสุด นอกจากนี้ การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยสร้างความเย็นสบายภายในบ้านอย่างพัดลม เครื่องปรับอากาศ ก็มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดการใช้พลังงานได้เช่นกัน หรือเลือกเปิดประตูหรือหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรมตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรและวิศวกรอาสาที่พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าความเสียหายเชิงโครงสร้างของอาคาร ฯลฯ ได้ทั้งสายด่วน 1303 ไลน์ไอดี @coethai เพจเฟซบุ๊กhttps://web.facebook.com/coethailand ช่องทางยูทูบ (YouTube Channel) สภาวิศวกร Council of Engineers Thailand และเว็บไซต์ https://coe.or.th
No comments:
Post a Comment