เต็ดตรา แพ้ค พัฒนาและทดสอบการใช้เยื่อกระดาษแทนที่ชั้นอะลูมิเนียมเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม - Bangkokfocusnews.com : ข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์

Latest News 📢

Tuesday 31 May 2022

เต็ดตรา แพ้ค พัฒนาและทดสอบการใช้เยื่อกระดาษแทนที่ชั้นอะลูมิเนียมเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม




เต็ดตรา แพ้ค พัฒนาและทดสอบการใช้เยื่อกระดาษแทนที่ชั้นอะลูมิเนียมเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรม

ก้าวสำคัญของเต็ดตรา แพ้ค ในการเดินทางสู่การเป็นบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อที่ใช้วัสดุทดแทนจากธรรมชาติได้ทั้งหมด ด้วยนวัตกรรมใหม่จากเยื่อกระดาษทดแทนชั้นอะลูมิเนียม กับความมุ่งมั่นที่จะลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และสร้างแรงจูงใจในการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มใช้แล้วให้กับกลุ่มธุรกิจรีไซเคิล

โลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ (31 พฤษภาคม 2565): หลังจากประสบความสำเร็จในการทดสอบและรับรองเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์เป็นเวลา 15 เดือน ในการใช้วัสดุที่ทำจากโพลีเมอร์แทนที่ชั้นอะลูมิเนียมไปแล้ว ขณะนี้ เต็ดตรา แพ้ค ได้ก้าวเข้าสู่อีกขั้นของการพัฒนากับการทดสอบชั้นปกป้องทดแทนอะลูมิเนียมที่ผลิตจากเยื่อกระดาษ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกสำหรับกล่องบรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อที่เก็บรักษาและจัดจำหน่ายในอุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องแช่เย็น

โดยการทดสอบนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในแผนงานระยะยาวของบริษัทที่มุ่งสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อที่ทำจากวัสดุทดแทนได้จากธรรมชาติและรีไซเคิลได้ทั้งหมด พร้อมยังมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

ชั้นอะลูมิเนียมที่ใช้ในกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารแบบปลอดเชื้อซึ่งเป็นวัสดุพื้นฐานที่เต็ดตรา แพ้คนำมาใช้ปกป้องเพื่อรับรองความปลอดภัยของอาหาร แม้ว่าจะมีขนาดบางกว่าเส้นผม แต่ยังมีส่วนถึงหนึ่งในสามในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของวัสดุบรรจุภัณฑ์ในปัจจุบัน

ในแง่มุมของการลดผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ การทดสอบและรับรองเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ในการใช้วัสดุที่ทำจากโพลีเมอร์แทนที่ชั้นอะลูมิเนียมที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายปี 2563 ช่วยให้บริษัทเข้าใจถึงความเป็นไปในห่วงโซ่คุณค่าจากการนำชั้นปกป้องทางเลือกมาใช้แทนชั้นอะลูมิเนียม และช่วยประเมินถึงการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นอกจากนี้ ยังได้รับการยืนยันแล้วว่า สามารถช่วยปกป้องน้ำผักผลไม้จากออกซิเจนได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลในประเทศที่ผู้ประกอบการรีไซเคิลต้องการใช้กล่องที่ไม่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม

เมื่อนำการเรียนรู้เหล่านี้มาประกอบกัน ขณะนี้ บริษัทกำลังดำเนินการทดสอบวัสดุใหม่ที่ทำจากเยื่อกระดาษ ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้า โดยผลิตภัณฑ์นำร่องแบบแรกคือกล่องเครื่องดื่มขนาดพกพาที่ใช้วัสดุนี้เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรม ได้ออกวางจำหน่ายแล้วเพื่อดูการตอบรับของผู้บริโภค โดยบริษัทได้วางแผนตรวจสอบเทคโนโลยีเพิ่มเติมภายในปี 2565 นี้

ความก้าวหน้าครั้งนี้เน้นย้ำแนวทางของเต็ดตรา แพ้ค ในการออกแบบเพื่อการรีไซเคิล ที่ให้ความสำคัญต่อการเพิ่มการใช้กระดาษเป็นวัสดุหลัก และยังสนับสนุนความคาดหวังของผู้บริโภคอีกด้วย ข้อมูลจากงานวิจัยระดับโลกฉบับล่าสุด[1] เผยว่า ผู้บริโภคประมาณร้อยละ 40 ยืนยันว่า หากบรรจุภัณฑ์ทำมาจากกระดาษทั้งหมด โดยไม่มีส่วนประกอบของพลาสติกหรืออะลูมิเนียมอยู่เลย จะเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาอยากแยกขยะเพื่อการรีไซเคิลมากขึ้น

ไจลล์ ทิสซาแรนด์ รองประธานฝ่ายสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพของเต็ดตรา แพ้ค ให้ความเห็นว่า “ผลลัพธ์ในช่วงแรกชี้ให้เห็นว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุใหม่ในชั้นปกป้องที่ทำจากเยื่อกระดาษจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างเห็นผลเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์ปลอดเชื้อแบบเดิม [2] ควบคู่ไปกับคุณสมบัติที่ช่วยเก็บรักษาและส่งเสริมความปลอดภัยของอาหารที่บรรจุอยู่ภายใน[3] ได้ในระดับใกล้เคียงกัน เราเชื่อว่า การพัฒนาครั้งนี้จะเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก อีกทั้งกล่องบรรจุภัณฑ์ที่มีสัดส่วนของกระดาษเพิ่มขึ้นยังเป็นที่สนใจสำหรับโรงงานผลิตกระดาษ ดังนั้น แนวคิดนี้จึงมีบทบาทที่ชัดเจนที่จะทำให้ผู้คนตระหนักเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบคาร์บอนต่ำสำหรับบรรจุภัณฑ์กันมากขึ้น”

อีวา กุสตาฟสัน รองประธานฝ่ายวัสดุและบรรจุภัณฑ์ของเต็ดตรา แพ้ค เสริมว่า “นวัตกรรมแห่งความเปลี่ยนแปลงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกันหลายมิติอย่างปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศหรือการหมุนเวียนทรัพยากร นี่คือเหตุผลที่เราไม่เพียงแค่ทำงานร่วมกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ แต่ยังรวมถึงบริษัทสตาร์ทอัพ มหาวิทยาลัย และบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ที่รวมระบบเครือข่ายนิเวศทั้งระบบ ทำให้เราสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันยุค และโรงงานการผลิตที่ล้ำสมัย ”

อีวา กล่าวเพิ่มเติมว่า “เพื่อสร้างนวัตกรรมให้เดินหน้าต่อไป เราลงทุนสูงถึง 100 ล้านยูโรต่อปี และจะต่อเนื่องไปเช่นนี้ในตลอด 5-10 ปีข้างหน้า เพื่อยกระดับคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมของบรรจุภัณฑ์อาหาร ซึ่งรวมไปถึงการทำการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากโครงสร้างวัสดุที่เรียบง่าย และเพิ่มส่วนประกอบของทรัพยากรทดแทนได้จากธรรมชาติให้มากขึ้น หนทางในการบรรลุเป้าหมายของเรานั้นยังอีกยาวไกล แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากพันธมิตรของเรา และความมุ่งมั่นที่แข็งแกร่งของเราในการสร้างความปลอดภัยทางอาหารและความยั่งยืนให้เกิดขึ้น เราจะไปถึงจุดนั้นในที่สุด”

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

· เต็ดตรา แพ้ค มุ่งมั่นที่จะส่งมอบบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีความยั่งยืนที่สุดในโลก โดยไม่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมอาหารและผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศโลก กล่าวคือ การผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ทั้งหมดทำมาจากวัสดุทดแทนได้จากธรรมชาติหรือวัสดุรีไซเคิล ซึ่งมีการจัดหามาอย่างมีความรับผิดชอบ สามารถช่วยปกป้องและฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ทรัพยากร และความหลากหลายทางชีวภาพของโลกได้ นอกจากนี้ การผลักดันให้เกิดการผลิตและจัดจำหน่ายที่มีความสะดวก ปลอดภัย และมุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์นั้น จะช่วยให้เรามีระบบการผลิตอาหารที่ยืดหยุ่นและนำกลับมารีไซเคิลได้ทั้งหมด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ our journey towards the world’s most sustainable food package.

· Tetra Pak calls for collaborative innovation to tackle sustainability challenges in the food packaging industry

· Tetra Pak partners with leading beverage brands to launch the world’s first tethered caps on carton packages

· Tetra Pak and Elvir join forces in a world first: carton packages using certified recycled polymers

· Tetra Pak Sustainability Report 2021

เกี่ยวกับเต็ดตรา แพ้ค

เต็ดตรา แพ้ค คือผู้นำเสนอโซลูชันบรรจุภัณฑ์และกระบวนการผลิตอาหารชั้นนำของโลก โดยทำงานร่วมกับลูกค้าและซัพพลายเออร์อย่างใกล้ชิด เพื่อมอบผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งตอบสนองความต้องการของผู้คนนับพันล้านในกว่า 160 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนพนักงานมากกว่า 25,000 คนซึ่งมีฐานการดำเนินงานทั่วโลก เราเชื่อในความรับผิดชอบของเราในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมและการมอบความยั่งยืนแก่ธุรกิจนี้ ปรัชญาการทำงานของเราคือ ปกป้อง ทุกคุณค่า™ หรือ “PROTECTS WHAT’S GOOD™” ซึ่งสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ของเราในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและซื้อหาได้ในทุกที่

ข้อมูลเกี่ยวกับ เต็ดตรา แพ้ค กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.tetrapak.com/th

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Bangkokfocusnews.com ข่าวออนไลน์