ไขข้อข้องใจสำหรับผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์…
รู้หรือไม่ระบบแปลงไฟฟ้ามีกี่แบบ
โดย เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย)
การติดตั้งโซลาร์เซลล์หรือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะระบบโซลาร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ร่วมกับพลังงานไฟฟ้าหลักจากการไฟฟ้า ช่วยประหยัดค่าไฟโดยเฉพาะในยุค Work From Home ที่มีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้าต่อเดือนลดลงได้ประมาณ 40-60% รวมไปถึงสำนักงาน ร้านอาหาร สถานประกอบการทั่วไป ที่มีค่าไฟสูงต่อเดือน ทางเลือกการติดตั้งโซลาร์เซลล์นี้จึงนับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
คราวนี้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แต่ไฟฟ้าที่ใช้ภายในครัวเรือนจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ดังนั้น เราจึงต้องมีการแปลงไฟ ซึ่งระบบแปลงไฟสำหรับโซลาร์เซลล์แบ่งได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. String Inverter or Central Inverter : เป็นระบบที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยแผงโซลาร์เซลล์จะต่อสายเข้าด้วยกันแบบอนุกรมเป็น “สตริง” เมื่อผลิตพลังงานได้ พลังงานทั้งหมดจะถูกส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เพียงเครื่องเดียวที่จะแปลงไฟที่รวมมาเข้าครัวเรือน โดยตัวอินเวอร์เตอร์มักจะติดอยู่ด้านล่างภายในพื้นที่บ้านที่สะดวก
ข้อดี : (1) การติดตั้งและการทำงานของระบบไม่ซับซ้อน (2) บำรุงรักษาง่าย (3) ราคาถูก
ข้อเสีย : (1) แผงโซลาร์เซลล์เชื่อมต่อกันแบบอนุกรม เมื่อแผงใดแผงหนึ่งทำงานไม่เต็มที่ จะทำให้ประสิทธิภาพของระบบการผลิตไฟฟ้าลดลง (2) ไม่รองรับการหยุดทำงานฉุกเฉิน (Rapid Shutdown) หากไม่ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม ซึ่งก็จะทำให้เงินลงทุนสูงขึ้น (3) หากต้องการตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าของแผงและเพิ่มการหยุดทำงานฉุกเฉิน ต้องติดตั้ง Optimizer เพิ่มตามจำนวนแผง ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูง (4) เสี่ยงอันตรายจากอุบัติเหตุเนื่องจากไฟที่รับมาเป็นกระแสไฟฟ้าแรงดันค่อนข้างสูง (5)การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทำได้ยาก
2. Micro Inverter : ระบบที่ใช้อินเวอร์เตอร์ขนาดเล็ก ติดไว้กับแผงโซลาร์เซลล์เพื่อแปลงไฟโดยตรงแบบแผงต่อแผง โดยอินเวอร์เตอร์ 1 ตัว จะเชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์ 1 – 4 แผง และทำงานแยกอิสระต่อกัน
ข้อดี : (1) สามารถตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าของแผงโซลาร์เซลล์แต่ละแผงได้ เมื่อมีแผงใดทำงานไม่เต็มที่ แผงอื่นก็ยังสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ (2) อันตรายน้อยกว่า เนื่องจากไฟฟ้าที่แปลงจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low DC Voltage) (3) สามารถฉีดน้ำดับไฟเมื่อไฟไหม้ได้เลย (4) รองรับมาตรฐานการหยุดทำงานในกรณีฉุกเฉิน หรือ Rapid Shutdown (5) การเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าทำได้ง่ายกว่า
ข้อเสีย : (1) แพงกว่าสตริงอินเวอร์เตอร์ แต่บางยี่ห้อก็ราคาใกล้เคียงกัน (2) ใช้จำนวนอินเวอร์เตอร์มากขึ้นตามจำนวนแผง การซ่อมแซมหรือตรวจสอบต้องทำบนหลังคา
ระบบไมโครอินเวอร์เตอร์ ถือว่าเป็นระบบน้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น และในอนาคตอาจจะมาแทนที่ระบบเก่าอย่างสตริงอินเวอร์เตอร์ เนื่องจากมีข้อดีในการใช้งานที่ดีกว่าและความปลอดภัยสูงกว่า
โซลลาร์เซลล์ ถือเป็นพลังงานสะอาด และเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ แผงโซลาร์เซลล์มีหลายรูปแบบ ลองเลือกแบบที่เหมาะกับการใช้งาน รวมถึงพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตและการรับประกันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นการการันตีคุณภาพแผงโซล่าเซลล์ที่จะมีอายุการใช้งานได้นานราว 25 – 30 ปี
No comments:
Post a Comment