สถาบันลินคอล์นเปิดตัวหนังสือเจาะลึกภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้างในเอเชีย วิเคราะห์ความ
เคลื่อนไหวในเอเชียอย่างครอบคลุม
เคมบริดจ์ , แมสซาชูเซตส์, / ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นแหล่งรายได้ของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย แต่การนำไปปฏิบัติจริงกลับไม่มีความเท่าเทียมกัน หนังสือเล่มใหม่ของสถาบันลินคอล์น ( Lincoln Institute) ในชื่อ " Property Tax in Asia: Policy and Practice " (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเอเชีย: นโยบายและการปฏิบัติ) (หนังสือปกอ่อนราคา 60.00 ดอลลาร์ จำนวน 552 หน้า: ISBN: 978-1-55844-423-2) จะมอบการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับวิธีการที่เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญนี้ถูกนำไปใช้ในทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างเอเชีย
หนังสือเล่มนี้เขียนโดยทีมผู้เชี่ยวชาญชั้นนำและเรียบเรียงโดยวิลเลียม แมคคลัสกี ( William McCluskey) รอย บาห์ล (Roy Bahl) และเรียล ฟรานเซน (Riël Franzsen) มอบบทวิเคราะห์เปรียบเทียบและคำแนะนำอย่างละเอียด โดยมีกรณีศึกษาเชิงลึก 13 กรณีครอบคลุมภูมิภาคที่มีประชากรเกือบครึ่งโลก
"กรณีศึกษาของเราใน 13 ประเทศและภูมิภาคเหล่านี้พบว่า ประเทศต่าง ๆ ปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ทันสมัยในวิธีที่แตกต่างกันมาก รวมถึงวิธีการใช้ประโยชน์จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเพิ่มรายได้ และทำให้เป็นเครื่องมือบังคับใช้นโยบายการใช้ที่ดินและส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางสังคม" บรรณาธิการกล่าว
หนังสือเล่มนี้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับทั้งนักวิชาการและผู้กำหนดนโยบาย มอบบททบทวนด้านกฎหมาย แนวทางปฏิบัติด้านการบริหาร ข้อเสนอการปฏิรูป เทคโนโลยี และการอภิปรายทางการเมืองอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศทุกขนาดและทุกระดับรายได้
โดยทั่วไปแล้ว ประเทศที่มีฐานะทางการเงินดีกว่า เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี และสิงคโปร์ มีระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทำงานได้ดี แม้จะเผชิญกับความท้าทายต่าง ๆ เช่น ความไม่ชัดเจนในการเป็นเจ้าของบ้านร้างในญี่ปุ่นที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนการที่จีนและเวียดนามไม่อนุญาตให้เอกชนเป็นเจ้าของที่ดินนั้น ทำให้รัฐบาลต้องพึ่งพาค่าธรรมเนียมก้อนใหญ่แบบครั้งเดียวจากการใช้ที่ดิน ซึ่งมีเสถียรภาพน้อยกว่าภาษีที่เก็บเป็นประจำ นอกจากนี้ ประเทศที่มีรายได้น้อยจำนวนมากต่างประสบปัญหาฐานภาษีแคบ การตีมูลค่าทรัพย์สินต่ำเกินไป การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด และความท้าทายทางการเมืองเพื่อเป็นตัวแทนของประเทศราว 50 ประเทศ บรรณาธิการได้เลือก 13 กรณีศึกษาโดยพิจารณาจากการใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การบริหารจัดการที่ทันสมัย การใช้เทคโนโลยี และประวัติเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กรณีศึกษาเหล่านี้ครอบคลุมประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียใต้และตะวันออก เขตอำนาจที่จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประจำซึ่งคิดเป็นอย่างน้อย 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม และประเทศที่มีรายได้น้อยกว่าหลายแห่งทั่วเอเชีย ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
หนังสือเล่มนี้ยอมรับว่าหลาย ๆ เงื่อนไขมีความแตกต่างกันมาก โดยได้แนะนำแนวทางปฏิรูป 10 ประการต่อไปนี้พัฒนากลยุทธ์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ใช้แนวทางที่ครอบคลุมในการปฏิรูป
ชี้แจงบทบาทต่าง ๆ ของรัฐบาลระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น
ยกเลิกการยกเว้นภาษีที่ไม่จำเป็น
ลดความซับซ้อนของโครงสร้างอัตราภาษี
บังคับใช้ภาษีการโอนทรัพย์สิน
ยกระดับคุณภาพการประเมินที่ดิน และการปฏิบัติตามรอบการประเมินค่าใหม่ตามกฎหมาย
ยกระดับการปฏิบัติตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยสมัครใจ
ลดความซับซ้อนและปรับปรุงการจัดการสาธารณะ
ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
Property Tax in Asia: Policy and Practice เป็นหนังสือชุดล่าสุดของสถาบันลินคอล์นที่วิเคราะห์ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในภูมิภาคที่สำคัญของโลก ประกอบด้วย Property Tax in Africa: Status, Challenges, and Prospects (2560) และ Property Tax Systems in Latin America and the Caribbean (ตีพิมพ์ในภาษาสเปน, 2559) ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันลินคอล์น: https://go.lincolninst.edu/l/153411/2022-09-27/pq784c
ความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเอเชีย
"หนังสือเล่มนี้มอบข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นมากเกี่ยวกับรูปแบบการจัดเก็บภาษีที่มักเข้าใจผิดกันมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก นักการเมืองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักต้องเข้าใจทุกแง่มุมของภาษี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติโดยยึดหลักนโยบายที่มั่นคงเพื่อให้มีรายได้เพียงพอไว้หนุนบริการที่จำเป็นในท้องถิ่น หนังสือเล่มนี้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของนักเขียนและบรรณาธิการที่มีชื่อเสียง มอบบทวิเคราะห์เกี่ยวกับระบบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ประสบความสำเร็จในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย รวมถึงมอบข้อแนะนำในการปฏิรูป"
— พอล แซนเดอร์สัน (Paul Sanderson) ประธานสถาบันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างระหว่างประเทศ
"นี่คือแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกคนที่สนใจในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีข้อจำกัดทางการเงินนี้ โดยคุณแมคคลัสกี คุณบาห์ล และคุณฟรานเซน ได้ใช้กรณีศึกษาที่หลากหลายเพื่อตรวจสอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเอเชียอย่างเชี่ยวชาญ หนังสือเล่มนี้ให้บทเรียนอันล้ำค่าแก่นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ปฏิบัติงานด้วยการตรวจสอบภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างละเอียดทุกด้าน"
— เดโบราห์ เวทเซล (Deborah Wetzel) อดีตผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกำกับดูแล ธนาคารโลก และนักวิชาการอาวุโสฝ่ายธรรมาภิบาล ประจำสถาบันเพื่อประสิทธิผลของรัฐ
"หนังสือเล่มนี้จะช่วยกำหนดอนาคตของการปฏิรูป ออกแบบ และดำเนินการภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ และนักศึกษาจะพบว่าเนื้อหาภายในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ กรอบการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบข้ามประเทศ และกรณีศึกษาโดยละเอียดจะมอบข้อมูลเชิงลึกและบทเรียนเกี่ยวกับวิธีการออกแบบและการดำเนินการปฏิรูปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างมีกลยุทธ์"
— รอย เคลลี (Roy Kelly) ศาสตราจารย์ปฏิบัติวิชาชีพ วิทยาลัยนโยบายสาธารณะแซนฟอร์ด มหาวิทยาลัยดุ๊ก
"หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงโดยนักวิชาการด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงถึงสามคน เจาะลึกการออกแบบและการดำเนินการด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในทวีปที่ประเทศส่วนใหญ่จำเป็นต้องจัดหาแหล่งรายได้อิสระ เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและความรับผิดชอบในการใช้จ่ายของรัฐ หนังสือเล่มใหม่นี้จะเป็นทรัพยากรพื้นฐานสำหรับนักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน และผู้กำหนดนโยบายในเอเชียและทั่วโลก"
— จอร์จ มาร์ติเนซ วาซเกซ (Jorge Martinez-Vazquez) ศาสตราจารย์กิตติคุณสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐจอร์เจีย
"นี่เป็นคู่มือที่จำเป็นสำหรับมืออาชีพและนักศึกษาเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติด้านภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเอเชีย กรณีศึกษาทั้ง 13 กรณีโดยนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานที่ประจำอยู่ในประเทศเป้าหมาย มอบข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญในด้านบริบท วิวัฒนาการ สถาบัน และการวิเคราะห์ระบบภาษีในเอเชีย"
— อี้ลิน โหว (Yilin Hou) ศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยความเป็นพลเมืองและกิจการสาธารณะแมกซ์เวล มหาวิทยาลัยซีราคิวส์
"หนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารอ้างอิงที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ร่างกฎหมาย ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในการคิดค้นและนำระบบการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและภาษีอากรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม เป็นเอกสารการสอนที่มีคุณค่าสำหรับการพัฒนาการฝึกอบรมวิชาชีพและการสอนทางวิชาการ"
— โลอัน เอช ตรินห์ (Loan H. Trinh) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติฮานอย และมหาวิทยาลัยควิเบกในมอนทรีออล
เกี่ยวกับผู้เขียน
วิลเลียม แมคคลัสกี เป็นศาสตราจารย์พิเศษประจำสถาบันภาษีแอฟริกัน มหาวิทยาลัยพรีโตเรีย ประเทศแอฟริกาใต้
รอย บาห์ล เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณกิตติมศักดิ์ด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นคณบดีผู้ก่อตั้งวิทยาลัยนโยบายศึกษาแอนดริวยัง ( Andrew Young School of Policy Studies) ประจำมหาวิทยาลัยรัฐจอร์เจีย นอกจากนี้เขายังเป็นศาสตราจารย์พิเศษด้านเศรษฐศาสตร์ประจำสถาบันภาษีแอฟริกัน มหาวิทยาลัยพรีโตเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ด้วย
เรียล ฟรานเซน เป็นศาสตราจารย์และผู้อำนวยการสถาบันภาษีแอฟริกัน มหาวิทยาลัยพรีโตเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ดำรงตำแหน่งประธานวิจัยด้านนโยบายและธรรมาภิบาลด้านภาษีของแอฟริกาใต้
เกี่ยวกับสถาบันลินคอล์นว่าด้วยนโยบายที่ดิน
สถาบันลินคอล์นว่าด้วยนโยบายที่ดิน ( Lincoln Institute of Land Policy) มุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตผ่านการใช้ที่ดิน การเก็บภาษี และการดูแลที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมูลนิธิปฏิบัติการเอกชนที่ไม่แสวงหากำไรซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2489 สถาบันลินคอล์นทำการวิจัยและแนะนำแนวทางที่สร้างสรรค์ในการใช้ที่ดินเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการศึกษา การฝึกอบรม สิ่งพิมพ์ และกิจกรรม เราบูรณาการทฤษฎีและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะทั่วโลก
No comments:
Post a Comment