"ลุมพินี วิสดอม" (LPN) ระบุ “Well-Being” เป็นโอกาสในการพัฒนาธุรกิจบริการ
“ลุมพินี วิสดอม” ระบุ การพัฒนาบริการที่ส่งเสริม “สุขภาวะ: Well-Being” เป็นโอกาสการสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) กล่าวถึงแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนางานบริการทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ และมีความต้องการในบริการที่แตกต่างจากก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับสุขภาวะที่ดี (Well-Being) เป็นโจทย์ใหม่สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ โดยเฉพาะงานบริการที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัย
จากผลการสำรวจของทีมพัฒนางานบริการ (Service Development Center: SDC) ของ “ลุมพินี วิสดอม” พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้พักอาศัยในคอนโดลุมพินีกว่า 84% ต้องการใช้ชีวิตประจำวันในพื้นที่ส่วนกลางในการผ่อนคลายกับธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้องใช้ชีวิตที่บ้านมากขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนั้น 79% ต้องการพื้นที่ออกกำลังกาย และอีก 75% ต้องการพื้นที่นั่งทำงานหรือทำกิจกรรมงานอดิเรกแบบบุคคล/กลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับรายงานประจำปี 2564 ของจาก Google ที่พบว่าผู้บริโภคมีการใช้ระบบค้นหาข้อมูล (Search engine) ของ Google ค้นหาประโยคคำว่า “หาหมอออนไลน์” สูงขึ้นกว่ากว่าปี 2563 กว่า 122% เมื่อนำมาพิจารณาควบคู่กับข้อมูลยอดขายนาฬิกาอัจฉริยะ (Smart watch) ทั่วโลก ซึ่งปกติแล้วนาฬิกากลุ่มนี้จะมีฟังก์ชันตรวจสอบสุขภาพขั้นพื้นฐาน
เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ วัดอัตราการวิ่ง ซึ่งเป็นฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การออกกำลังกาย มียอดขายทั่วโลก 14.93 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2563 เพิ่ม 16% จากปี 2562 โดยเป็นยอดขายจำนวน 17.35 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2564 ซึ่งเป็นยอดขายที่เติบโตสูงกว่านาฬิกาหรูหรา และมีการคาดการณ์ว่ายอดขายจะถึง 30.88 พันล้านดอลลาร์ในปี 2568 ผลการสำรวจดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภค และผู้พักอาศัยในอาคารชุดในปัจจุบันมีความต้องการพื้นที่ที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น และให้ความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตโดยคำนึงถึงสุขภาวะที่ดี
จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในพื้นที่ชุมชน ทั้งอาคารสำนักงาน และอาคารพักอาศัย ที่จะพัฒนางานบริการที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยคำนึงถึงเรื่องของ “สุขภาวะ: Well-Being” ใน 4 ด้าน คือ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม และ สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.ด้านสุขภาวะทางกาย จากผลการศึกษาของ “ลุมพินี วิสดอม” พบว่า ตลาดที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย และอาหารเพื่อสุขภาพ กำลังได้รับความสนใจและเป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญ เช่นDaily Harvest อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยให้บริการทั้งจำหน่ายวัตถุดิบอินทรีย์ อาหารออแกนิก หรืออาหารแช่แข็ง พร้อมจัดส่งถึงบ้าน ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 100,000 ราย ในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นหลายราย และพัฒนาไปถึงขนาดที่ให้บริการอาหารตามสภาวะสุขอนามัยของแต่ละคน ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีโอกาสที่จะเติบโตสูงขึ้นในประเทศไทยKetanga กลุ่ม Startup ที่เกิดขึ้นจากความต้องการพักผ่อน และชื่นชอบการออกกำลังกาย ให้บริการจัดทริป และดูแลการพักร้อนแบบกลุ่มย่อยทั่วโลก โดยมีกิจกรรมตั้งแต่การชกมวย ขี่ม้า โยคะ ไปจนถึงการฟิตเนส อาหาร และกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ปัจจุบันมีผลงานการเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงกว่า 85 งาน และ 150 องค์กรทั่วโลก
2.ด้านสุขภาวะทางจิตใจ
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ประชาชนเกิดภาวะความเครียดทั้งจากความกังวลต่อการติดเชื้อของ COVID-19 และความกังวลด้านเศรษฐกิจที่เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนางานบริการที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความผ่อนคลายทางจิตใจ เช่นApplication ฝึกสมาธิของ Head Space ก่อตั้งโดย Andy Puddicombe ผู้เคยบวชที่ทิเบตมากว่า 10 ปี และ Richard Pierson อดีตมาร์เก็ตติ้งบริษัทที่ประสบกับสภาวะหมดไฟ ฝึกฝนสมาธิร่วมกันจนในที่สุดก็ได้มีการขยายแนวทางการนั่งสมาธิ นี้ออกไปให้คนอื่นมากขึ้น ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดสูง
ถึง 54 ล้านครั้ง และสร้างรายได้ มากกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google หรือ Linkedin เองก็เลือกสมัครแพ็กเกจเต็มรูปแบบ เพื่อให้พนักงานได้ใช้งานกันอีกด้วยApplication ALLJIT เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เราได้ระบายปัญหาบางอย่างที่เราไม่รู้จะไปปรึกษาใคร การจัดการกับความรู้สึก ความเครียด หรือปัญหาต่างๆ เป็นพื้นที่ที่ให้เราได้แลกเปลี่ยน รับฟัง ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยา 24 ชั่วโมง การพ็อดคาสท์ (Podcast) เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต คอร์สเรียนจิตวิทยา และกลุ่ม (Community) ที่สามารถระบาย หรือรับฟัง และการประเมินความเครียดApplication Sabaijai มีแบบประเมินสภาวะทางจิตใจ จำแนกตามความเหมาะสมของเพศ และอายุ มีบทความที่สามารถ เลือกได้ว่าจะอ่าน หรือฟังบรรยาย รวมถึงฟังเพลงเพื่อให้จิตใจสงบร่มรื่น
3.ด้านสุขภาวะทางสังคม
“มนุษย์” เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการการรวมกลุ่ม การพบปะสังสรรค์ แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กิจกรรมทางสังคมลดลง ทำให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนางานบริการที่สร้างสุขภาวะทางสังคม เช่นYoung Happy เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่มีจุดเริ่มต้นของลูกที่อยากดูแลพ่อแม่วัยเกษียณ ตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้สูงวัย โดยปัจจุบัน มีสมาชิกเข้าร่วมมากกว่า 100,000 คน
4.ด้านสุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม
จากสถานการณ์ของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์และการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี (Delivery) ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มขึ้น ทำให้มีการพัฒนางานบริการที่ดูแลเรื่องการจัดการขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อม เช่นGEPP เว้นระยะห่าง ไม่ต้องออกไปไหน สะดวกปลอดภัย รออยู่ที่บ้านแล้วเรียกรับบริการได้ผ่าน 3 ช่องทาง คือ ทางโทรศัพท์ ทางแอพพลิเคชันไลน์ (LINE) และ ผ่านเว็บไซต์ โดยผู้ใช้บริการจะต้องกรอกสถานที่ วัน เวลาที่ต้องการให้เข้ารับขยะ รูปถ่ายแสดงปริมาณ และประเภทของขยะ จากนั้นระบบจะจัดคิวตามตาราง เพื่อวางแผนคน พื้นที่ เวลา และปริมาณในการเก็บขยะ ก่อนจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับขยะ ชั่งน้ำหนัก ทำบิล และจ่ายเงินต่อไปส่งพลาสติกกลับบ้าน เป็นโครงการที่ช่วยรับขยะพลาสติกไปจัดการอย่างถูกวิธี โดยเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนแห่งประเทศไทย และพันธมิตร มีการบริหารจัดการในรูปแบบ “แยกที่บ้าน ฝากทิ้งที่เรา” โดยมีจุดเช็คอิน รอบเขตสุขุมวิทและอื่นๆ กว่า 25 จุด นำไปรีไซเคิลแล้วส่งกลับไปเป็นผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคอีกครั้ง
“การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลอดระยะเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา เป็นวิกฤติด้านสุขภาพที่ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลก แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็น “โอกาส (Opportunity)” สำหรับการพัฒนางานบริการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยเฉพาะการพัฒนางานบริการที่คำนึงถึงสุขอนามัยที่ดี ซึ่งเป็นงานบริการที่มีโอกาสที่จะเติบโตในปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่า COVID-19 จะยังคงอยู่หรือไม่ ก็ตาม” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว
No comments:
Post a Comment