เราแค่ “ใจสั่น” ธรรมดา หรือว่าเป็นเพราะ “โรคหัวใจ”(Cardiac Arrhythmia)
อาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อรู้สึกตื่นเต้น เครียด กังวล ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นอนไม่พอ ออกกำลังกายหักโหม หรือการทานยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการใจสั่นได้เช่นกัน แม้ว่าอาการใจสั่นโดยทั่วไปมักไม่อันตราย แต่! ก็ไม่ควรวางใจอยู่ดี เพราะบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือโรคหัวใจ ที่อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้..
โดยอาการใจสั่นที่อาจเกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือโรคหัวใจ ที่สามารถสังเกตได้ เช่น
อาการใจสั่น สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อรู้สึกตื่นเต้น เครียด กังวล ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นอนไม่พอ ออกกำลังกายหักโหม หรือการทานยาบางชนิดก็ทำให้มีอาการใจสั่นได้เช่นกัน แม้ว่าอาการใจสั่นโดยทั่วไปมักไม่อันตราย แต่! ก็ไม่ควรวางใจอยู่ดี เพราะบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือโรคหัวใจ ที่อาจทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้..
โดยอาการใจสั่นที่อาจเกิดจากความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือโรคหัวใจ ที่สามารถสังเกตได้ เช่น
อาการใจสั่นเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น หน้ามืด เป็นลมหมดสติ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบผิดปกติ
อาการใจสั่นเกิดขึ้นทันทีทันใด โดยไม่มีสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้น
อาการใจสั่นที่มีจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
อาการใจสั่นในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย
อาการใจสั่นในผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว เช่น ผู้ป่วยที่เคยมีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว หัวใจผิดปกติแต่กำเนิด
ใครที่มีอาการใจสั่น และไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นใช่โรคหัวใจไหม? แนะนำให้ไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องดีกว่าครับ.. เพราะถ้าตรวจแล้วพบว่าไม่ได้เป็นอะไรเราก็จะได้สบายใจ หรือถ้าตรวจแล้วพบว่ามีโรคหัวใจแอบแฝงอยู่ แพทย์ก็จะได้รีบรักษาแต่เนิ่นๆ แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้ารู้เร็วและเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางอย่างทันท่วงที ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคหรือมีโอกาสหายขาดได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Cardiac Arrhythmia อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/144
ใครที่มีอาการใจสั่น และไม่แน่ใจว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นใช่โรคหัวใจไหม? แนะนำให้ไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องดีกว่าครับ.. เพราะถ้าตรวจแล้วพบว่าไม่ได้เป็นอะไรเราก็จะได้สบายใจ หรือถ้าตรวจแล้วพบว่ามีโรคหัวใจแอบแฝงอยู่ แพทย์ก็จะได้รีบรักษาแต่เนิ่นๆ แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้ารู้เร็วและเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางอย่างทันท่วงที ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคหรือมีโอกาสหายขาดได้
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Cardiac Arrhythmia อ่านข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/144
No comments:
Post a Comment