ซัมซุง เปิดแนวคิดแคมเปญ “Let AI Gens Your
Life” ผ่านภาพยนตร์โฆษณาจาก AI
สะท้อนอินไซต์การซักผ้าสุดครีเอท
เมื่อพลังของเทคโนโลยี AI มาผสมผสานเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ สิ่งใหม่ ๆ จึงเกิดขึ้นได้เสมอ เห็นได้จากภาพยนตร์โฆษณาเครื่องซักผ้าล่าสุดของซัมซุง ภายใต้แคมเปญ “Let AI Gens Your Life” ที่หยิบยกปัญหาการซักผ้าของคนไทย มาบอกเล่าอย่างมีสไตล์ผ่านสตอรี่ที่น่าสนใจ พร้อมบทพูดสุดฮา และภาพสุดครีเอทที่สร้างสรรค์จากเทคโนโลยี AI สะท้อนพลังของฟีเจอร์เครื่องซักและอบผ้า AI สุดล้ำ ที่อยากเปลี่ยนให้ทุกการซักผ้าเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์ทุกความต้องการแม้เป็นหน้าฝน เพื่อให้ชีวิตผู้คนดียิ่งขึ้น
จุดเริ่มต้นไอเดียภาพยนตร์โฆษณา ทำไมต้องเครื่องซักอบผ้า AI
นายเริงบุญ คล่องคำนวนการ ผู้อำนวยการธุรกิจ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวว่า “ซัมซุงเข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะเรื่องความยุ่งยากในการซักผ้า ที่ต้องดูแลเอาใจใส่ทั้งชนิดผ้า โหมดการซัก หรือแม้แต่ปริมาณน้ำยาซักผ้า จนเกิดเป็นแคมเปญ “Let AI Gens Your Life” ที่ต้องการส่งต่อความมุ่งมั่นของซัมซุงในการยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นความเป็นอยู่ของทุกคนให้ดียิ่งขึ้นด้วยพลังของเทคโนโลยี AI ตามวิสัยทัศน์ “Lead Future of AI Innovation” โดยไฮไลท์ความน่าสนใจของแคมเปญนี้คือ ภาพยนตร์โฆษณาที่สร้างจาก AI ซึ่งหยิบเอา Pain Point ของการซักผ้ามาบอกเล่าให้โดนใจคนไทย ควบคู่ไปกับเรื่องราวฟีเจอร์สุดล้ำที่พัฒนามาให้ตอบโจทย์ ซึ่งคาดว่าหลังจากปล่อยภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้ไป ยอดขายเครื่องซักและอบผ้าของซัมซุงจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น รับกับช่วงไฮซีซันหน้าฝนที่ตลาดเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าจะมีแนวโน้มคึกคัก”
จากอินไซต์ปัญหาการซักผ้า สู่แนวคิดการเล่าเรื่องที่มีเสน่ห์
ภาพยนตร์โฆษณาในแคมเปญ “Let AI Gens Your Life” บอกเล่าเรื่องราวชีวิตสุดพลิกผันที่เกิดจากปัญหาการซักผ้ายอดฮิต ไม่ว่าจะเป็นผ้าหด คราบสกปรก หรือความสะอาด ซึ่งอินไซต์ปัญหาเหล่านี้ได้รับการต่อยอดออกมาเป็นไอเดียการเล่าเรื่องสุดครีเอท จากฝีมือครีเอทีฟมากประสบการณ์อย่าง นายวรัญญู สรเศรษฐ์สกุล Group Creative Directors BBDO Bangkok ที่มาร่วมสร้างสรรค์ความพิเศษ ด้วยไอเดียการนำเอา AI มาสร้างภาพยนตร์โฆษณาครั้งแรกในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อชูฟีเจอร์ AI ทรงพลังในเครื่องซักและอบผ้าของซัมซุงให้โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็น AI EcobubbleTM+ ตัวช่วยประหยัดน้ำ พลังงาน และน้ำยาซักผ้า, AI Wash เซ็นเซอร์ตรวจจับเนื้อผ้า ช่วยจัดการซักล้างเสื้อผ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ, AI Control ระบบจดจำความชอบของผู้ใช้แต่ละคน สามารถปรับและบันทึกโปรแกรมการซักที่เหมาะสม และ AI Energy Mode ติดตามดูปริมาณการใช้พลังงานและประมาณค่าไฟ ผสานกับวิธีการเล่าเรื่องที่น่าสนใจใน 2 มุม คือ มุมแรกเล่าถึง “การมีเครื่องซักผ้า AI ดียังไง” กับอีกหนึ่งมุมตรงกันข้าม “ถ้าไม่มีเครื่องซักผ้า AI จะเกิดอะไรขึ้นในชีวิตบ้าง”
นายวรัญญู เปิดเผยว่า “จุดที่ทำให้ภาพยนตร์โฆษณาน่าสนใจเกิดจากหลายองค์ประกอบรวมกัน ทั้งสตอรี่ในการเล่าที่เราเอาปัญหาการซักผ้ามาขยี้อย่างมีอารมณ์ขันและชั้นเชิง รวมทั้งการใช้ภาพจาก AI เพื่อถ่ายทอดพลังของเทคโนโลยีนี้ไปให้ถึงผู้ชม และการเลือกใช้คำที่ตลก สนุก คล้องจอง ให้ความว้าวของเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้า AI จากซัมซุงเข้าถึงใจและมีอิมแพคกับผู้ชมมากที่สุด”
เติมลูกเล่นน่าจดจำด้วยภาพจาก AI
งานนี้ซัมซุงได้ผู้กำกับมือทองที่อยู่เบื้องหลังโฆษณาดังมากมายอย่าง “นายคณิณ-คณิณญาณ จันทรสมา” ผู้กำกับแห่งบริษัท ฟีโนมีนา จำกัด มาถ่ายทอดแนวคิดผ่านผลงานการกำกับภาพยนตร์โฆษณาชิ้นนี้ ซึ่งในฐานะผู้กำกับ นายคณิณ บอกเล่าถึง เทคนิคในการถ่ายทำว่า “เราตั้งใจนำเสนอความไม่สมบูรณ์แบบของภาพจาก AI ในการเล่าเรื่อง เพื่อตะโกนบอกให้ผู้ชมรู้ว่านี้คือโฆษณาที่สร้างจาก AI ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากคอนเซ็ปต์ของเครื่องซักผ้า AI ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ทั้งสนุกและท้าทาย โดยเฉพาะเรื่องข้อจำกัดของ AI ทั้งการแสดงออกทางอารมณ์ที่หลากหลายบนสีหน้าของคน รวมไปถึงความต่อเนื่องของภาพพื้นหลัง เสื้อผ้า และภาพหน้าคนที่จะมีการเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทำให้ต้องใช้เทคโนโลยี Deep Fake เข้ามาช่วยสร้างใบหน้าเลียนแบบของนักแสดงหญิงที่เราเห็นกันในโฆษณา ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในแง่ของการทำโปรดักชันทั้งในและต่างประเทศ จนสร้างความน่าสนใจให้ทั้งผู้ชมและคนในวงการโปรดักชันเป็นอย่างมาก”
ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพที่น่าทึ่งของเทคโนโลยี AI ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซัมซุงที่เดินหน้าผลักดันนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น และเข้าถึงได้ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
ชมภาพยนตร์โฆษณา “Let AI Gens Your Life” ได้ที่ ช่องทาง YouTube Samsung Thailand (https://youtu.be/S604-aAmww4?feature=shared)
No comments:
Post a Comment