เอบีม คอนซัลติ้ง ชี้ให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของ “Data Democratization”
การจัดการข้อมูลที่เอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกและทั่วถึงสำหรับทุกคนสามารถนำไปสู่การตัดสินใจโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐานที่ดีขึ้นและความสำเร็จระยะยาวขององค์กร
เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ข้อมูลที่บริษัทและองค์กรสร้าง จัดเก็บ และนำไปใช้งานจะมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ข้อมูลจะมีประโยชน์สูงสุดก็ต่อเมื่อมีการจัดการที่ดี และวิธีหนึ่งที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการนำข้อมูลไปใช้คือการทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้โดยพนักงานภายในองค์กรจำนวนมากที่สุดเพื่อให้เกิดศักยภาพในการใช้ข้อมูลให้ดีที่สุด โดยทั่วไปข้อมูลของบริษัทจะถูกจัดเก็บและจัดการเป็นส่วน ๆ แยกกันและดูแลควบคุมโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีขององค์กร เมื่อต้องการใช้ข้อมูล พนักงานจะต้องส่งคำขอไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นขึ้นตอนที่อาจกินเวลานาน ในบางกรณีที่เจ้าหน้าที่ด้านไอทีมีงานล้นมือคำขอนั้นอาจไม่ได้การตอบรับอย่างทันท่วงที หรือไม่ได้รับการจัดการใด ๆ เลย การทำให้ข้อมูลเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมและง่ายดาย หรือที่รู้จักกันในชื่อ Data Democratization จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้แก้ปัญหานี้ได้
ศูนย์วิจัยทางเทคโนโลยี Gartner ระบุว่า Data Democratization คือหนึ่งในเทรนด์ด้านเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุด เทรนด์หนึ่งของทศวรรษ โดยเป็นการทำให้ข้อมูลดิจิทัลเป็นสิ่งที่คนทั่วไปในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยมีเป้าหมายคือการเอื้อให้พนักงานที่ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ โดยหลักการสำคัญคือทำให้ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงและเข้าใจข้อมูลที่ต้องการนำไปใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถสร้างการตัดสินใจที่มีข้อมูลเป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาได้ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเติบโตและความสำเร็จในระยะยาวขององค์กร
ประโยชน์ที่พนักงานขององค์กรจะได้รับจาก Data Democratization คือความสามารถในการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งองค์กรด้วยตัวเลือกที่ดีขึ้น Data Democratization ยังทำให้เกิดมุมมองเชิงลึกของลูกค้าที่กว้างขึ้นจากข้อมูลทุกส่วนภายในองค์กร รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้และการวิเคราะห์อย่างเหมาะสมยังจะช่วยให้องค์กรสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้า มากไปกว่านั้นยังช่วยให้องค์กรสร้างการตัดสินใจที่สำคัญได้ทันท่วงที ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ได้อย่างมั่นใจ และสร้างการตัดสินเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ในการที่องค์กรจะทำ Data Democratization หรือทำข้อมูลให้เป็นประชาธิปไตยให้สำเร็จได้นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการปรับปรุงโครงสร้างและจัดการข้อจำกัดด้านดิจิทัลในองค์กรเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลแห่งเดียวกันเพียงแห่งเดียวได้ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ Data Virtualization มาช่วย เพื่อลดความซับซ้อนในการเข้าถึงข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ภายในองค์กร แพลตฟอร์มนี้ยังช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูล และสามารถดำเนินการภายใต้นโยบายด้านความปลอดภัยได้
ในการให้พนักงานทุกคนเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่ต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ด้านไอทีของบริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก องค์กรควรสนับสนุนให้มีการใช้เครื่องมือ Machine Learning หรือการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วย แพลตฟอร์ม Automated Machine Learning (AutoML) ซึ่งสามารถสร้างฟังก็ชันที่ครอบคลุมและสนับสนุนกระบวนการ machine learning ทั้งหมด ตั้งแต่การเข้าถึงและการเตรียมข้อมูล การออกแบบโมเดล Machine Learning การฝึกอบรม และการประเมิน ไปจนถึงการนำไปใช้ และการติดตามตรวจสอบการทำงานของโมเดลที่นำไปใช้ แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้พนักงานที่มีทักษะด้านเทคนิคที่แตกต่างกัน ตั้งแต่กลุ่มที่เขียนโค้ดไม่ได้เลย กลุ่มที่พอมีทักษะอยู่บ้าง และกลุ่มโค้ดเดอร์ที่มีความชำนาญ สามารถสร้างการวิเคราะห์ขั้นสูงได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอที และสร้างคุณค่าให้กับองค์กรผ่าน Data Democratization
ประการสุดท้าย ทุกคนในองค์กรควรได้รับการเรียนรู้ด้าน Data Democratization โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้บริหาร กระบวนการประเมินและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องยังเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ Data Democratization เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์และสร้างประโยชน์มากที่สุด ที่สำคัญคือองค์กรต้องระลึกว่า Data Democratization คือกระบวนการที่ต้องดำเนินไปเรื่อย ๆ ไม่ใช่ภาวะสุดท้ายที่ต้องการ และต้องมีกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนประชาธิปไตยข้อมูลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในองค์กรเพื่อให้แนวทางนี้ประสบความสำเร็จ
เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) หนึ่งในบริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันชั้นนำของโลก ได้รับการติดต่อสอบถามเรื่อง Data Democratization จากลูกค้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และได้มองเห็นถึงประโยชน์มากมายจากการนำวิธีการนี้ไปใช้ในการประกอบธุรกิจ
เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มอบบริการที่ปรึกษาด้านการวิเคราะห์ขั้นสูงให้กับบริษัทมากมายทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการติดตั้งโซลูชันทางเทคโนโลยีให้แก่ลูกค้า และทำให้องค์มากมายเข้าใกล้เป้าหมายของ Data Democratization ในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น นอกจากเทคโนโลยีแล้ว เอบีมยังสามารถให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนและดำเนินการตามแผนงานที่สร้างขึ้นและปรับให้เหมาะกับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ของลูกค้าแต่ละองค์กรอีกด้วย
เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 6,600 คน ที่ให้บริการลูกค้าทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยเมื่อปี 2548 บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 คน ที่ให้บริการลูกค้าด้วยความเชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาธุรกิจ และ Digital Transformation เพื่อช่วยให้บริษัทและองค์กรต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในฐานะพันธมิตรที่สร้างสรรค์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ อุตสาหกรรมและสังคมให้ก้าวสู่การเปลี่ยน
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อทางอีเมล ที่ contactthailand@abeam.com หรือเข้าชมเว็บไซต์ของเราเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.abeam.com/th/en
No comments:
Post a Comment