เผย 20 ไอเดียของคนรุ่นใหม่ ส่งนวัตกรรมจาก ทั่วโลกเข้าชิงรางวัล James Dyson Award ปี 2022 นี้ - Bangkokfocusnews.com : ข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์

Latest News 📢

Friday 14 October 2022

เผย 20 ไอเดียของคนรุ่นใหม่ ส่งนวัตกรรมจาก ทั่วโลกเข้าชิงรางวัล James Dyson Award ปี 2022 นี้


เผย 20 ไอเดียของคนรุ่นใหม่ ส่งนวัตกรรมจาก
ทั่วโลกเข้าชิงรางวัล 
James Dyson Award ปี 2022 นี้

หลังจากได้ผู้ชนะจากแต่ละประเทศทั่วโลก คณะกรรมการ James Dyson Award ที่ประกอบด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ 15 คน
ก็ได้คัดเลือกผลงานนวัตกรรม 20 ชิ้นเป็นผู้เข้ารอบสุดท้าย ที่สะท้อนไอเดียอันหลากหลายของวิศวกรรุ่นใหม่จากทั่วโลก
ตั้งแต่ตารางสูตรคูณแบบตอบสนองสำหรับเด็กจากไอร์แลนด์ จนไปถึงอุปกรณ์บรรเทาอาการคันจากผิวหนังอักเสบจากสิงคโปร์
โดยหนึ่งใน 20 นวัตกรรมนี้จะกลายเป็นผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ที่จะประกาศผลในวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้


ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา การประกวดนวัตกรรม James Dyson Award ก็ได้ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศใน 29 ประเทศทั่วโลก โดยแสดงให้เห็นถึงไอเดียอันเฉียบแหลมของคนรุ่นใหม่จากทั่วโลกที่มีความหลากหลายตั้งแต่อุปกรณ์ให้น้ำเกลือแบบพกพาจนไปถึงอุปกรณ์ฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ชนะจากประเทศไทย ถึงแม้จะไม่ได้เข้ารอบ 20 อันดับแต่ก็ทำให้เราเห็นไอเดียของเยาวชนไทยจาก KomilO แอปพลิเคชันที่มุ่งช่วยเกษตรกรโคนมในประเทศ

ในวันนี้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และนักออกแบบของ Dyson ทั้งหมด 15 คนจากทั่วโลกได้ทำการพิจารณาผู้ชนะรางวัล James Dyson Award ในระดับประเทศกว่า 87 ทีม เพื่อคัดเลือกผลงานจากผู้เข้ารอบ 20 อันดับในระดับนานาชาติเป็นที่เรียบร้อย

นักศึกษาและวิศวกรรุ่นใหม่จากทั่วโลกยังคงพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งว่าพวกเขาไม่เคยหยุดคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และพิสูจน์ว่าพวกเขามีความสามารถที่จะแก้ปัญหาที่ยากที่สุดในโลก ผลงานจากผู้เข้ารอบ 20 อันดับของ James Dyson Award ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกด้วยวิธีการที่แปลกใหม่ ซึ่งเป็นไอเดียที่ทรงพลังและมีศักยภาพในระดับโลก ตั้งแต่ เครื่องกีดขวางลอยน้ำที่สามารถนำทางขยะพลาสติกในแม่น้ำได้ จนไปถึง เครื่องตรวจสุขภาพเต้านม

“การได้อ่านผลงานจากผู้เข้าประกวดทั้งหมด และได้เห็นความทุ่มเทและความพยายามอย่างหนักของพวกเขาถือเป็นสิ่งที่พิเศษมาก การร่วมถกกันระหว่างกรรมการท่านอื่นๆ ว่าใครควรติดท็อป 20 อันดับก็เป็นกระบวนการที่น่าสนุกเช่นกัน เพราะการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายนี้นำไปสู่การสนทนาที่ยอดเยี่ยม” Lucy Harden ผู้จัดการฝ่ายออกแบบของ Dyson กล่าว

ที่ Dyson เราเชื่อว่าไอเดียที่ดีมาจากความหลากหลายทางความคิดและประสบการณ์ คณะกรรมการของเราประกอบไปด้วยผู้ที่มีความกว้างขวางทั้งในด้านความรู้และความเชี่ยวชาญจากฝ่าย Research, Design and Development ของ Dyson โดยพวกเขามีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมในหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น ความยั่งยืน การแพทย์ ระบบซอฟต์แวร์ การออกแบบเชิงเทคนิค และการเกษตร นอกจากนี้ยังมีเหล่านักศึกษาปริญญาตรีระดับหัวกะทิจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบัน Dyson Institute of Engineering Technology มาร่วมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่ท้าทายและทลายกรอบการออกแบบทั่วไป

“การได้เห็นความท้าทายมากมายจากทั่วโลกเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งยังเป็นเรื่องดี เมื่อผู้เข้าแข่งขันจากหลากหลายประเทศพบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ความหลากหลายทางความคิดคือสิ่งที่ทำให้การประกวดนี้ยิ่งน่าตื่นเต้น” Kay Yeong หัวหน้าวิศวกรของ Dyson กล่าว

หลังคณะกรรมการได้วิเคราะห์ ถกเถียง และคัดเลือกผู้เข้ารอบระดับนานาชาติเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทาง Dyson มีความยินดีอย่างยิ่งที่จะประกาศรายชื่อผู้เข้ารอบ 20 อันดับ

ทำไมนวัตกรรมที่เข้ารอบ 20 อันดับในการประกวดครั้งนี้ถึงน่าจับตามอง?

“ไอเดียของผู้เข้ารอบทั้ง 20 อันดับจะต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาได้จริง และต้องมีงานวิจัยและการคิดเชิงวิเคราะห์ที่จับต้องได้มาสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นการทำตัวต้นแบบซ้ำ ๆ และการทดสอบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าแนวคิดเหล่านั้นได้ผ่านการศึกษาอย่างละเอียด และมีศักยภาพพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างได้” Sam Dill วิศวกรด้านความยั่งยืนของ Dyson กล่าว

แล้วนวัตกรรมแห่งอนาคตหน้าตาเป็นอย่างไรล่ะ? มาทำความรู้จักผู้เข้ารอบ 20 อันดับเพิ่มเติมได้ที่ Dyson Newsroom

สามารถติดตามผลการประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศในระดับสากลของ James Dyson Award โดย Sir James Dyson ได้ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2022

ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ James Dyson Award 2022 จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Rehabit คือชุดของอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตัวเอง ด้วยคำแนะนำในการเคลื่อนไหวที่ทำได้ที่บ้าน เป็นผลงานการออกแบบโดย John Tay ปัจจุบันเป็นนักออกแบบอุตสาหกรรม โดยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติสิงคโปร์ (NUS)

จากประสบการณ์การดูแลคุณพ่อในการฟื้นตัวจากโรคหลอดเลือดสมองของพ่อ John มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนความยุ่งยากที่พ่อของเขาต้องเผชิญเมื่อศูนย์บำบัดไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม และต้องทดแทนด้วยการพึ่งพาวิธีการชั่วคราวเช่น การใช้ผ้าเช็ดตัวหรือถุงพลาสติกระหว่างการบำบัด ซึ่ง Rehabit จะให้แนะแนวผู้ป่วยให้ขยับร่างกายอย่างถูกต้องและปลอดภัย ในขณะที่ยังสามารถออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็วในการฟื้นตัวให้มากขึ้น

“รางวัล James Dyson Award ได้ให้โอกาสผมในการพูดคุยกับผู้ที่กำลังฟื้นฟูจากโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแล ทำให้ผมเห็นถึงความต้องการอันเร่งด่วนของการออกแบบและวิศวรกรรมที่มากขึ้น การเป็นผู้ที่เข้ารอบหนึ่งใน 20 ทีมสุดท้ายในรางวัลระดับโลกเป็นสิ่งเป็นกำลังใจแก่ผมอย่างสุดซึ้ง และได้รับรู้ว่าผมมีแรงสนับสนุนทั้งในด้านวิสัยทัศน์และประสบการณ์เพื่อที่จะพัฒนาและนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้แก่ผู้ที่ต้องการมันมากที่สุด”

ในปัจจุบัน John Tay ได้วางขาย Rehabit ในศูนย์บำบัดหลายแห่งทั่วสิงคโปร์ และมีความตั้งใจที่จะทำการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ต่อไป


Rollerball Itch Relief คืออุปกรณ์ที่ถูกออกแบบโดย Koh Bei Ning นักออกแบบอุตสาหกรรมที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนานาชาติ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ สามารถจัดการกับอาการคันไม่พึงประสงค์ของตนเองได้

Bei Ning ได้รับแรงจูงใจจากประสบการณ์ของเธอและผู้คนรอบตัวที่เคยได้รับผลกระทบจากการเป็นโรคผิวหนังอักเสบ และข้อจำกัดทางการแพทย์ คุณสมบัติของ Rollerball Itch Relief คือพื้นผิวของลูกกลิ้งที่ให้ความรู้สึกเหมือนการเกา แต่มั่นใจได้เลยว่าการลากบนผิวจะไม่ทำให้เกิดการฉีกขาดของผิวหนัง

“ฉันรู้สึกดีใจเป็นอย่างมากสำหรับโอกาสที่ฉันได้จากการรับรางวัล มันคือขวัญและกำลังใจจากการที่ได้รับการตอบสนองอย่างดีจากผู้ที่ได้รับฟังโครงการนี้ตั้งแต่ตอนที่ได้เข้ารอบ รองชนะเลิศช่วงเวลาเดียวกับที่ฉันได้เริ่มดำเนินการพัฒนาโครงการนี้”

Bei Ning มีความตั้งใจที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเธอให้ดียิ่งขึ้น และนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ

Brakong คืออวัยวะเทียมที่ยั่งยืน สำหรับผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดเต้านม ออกแบบโดย Emmanuele Pangilinan และ Jason Pechardo นักศึกษาจาก University of the Philippines – Diliman

การได้รับฟังเรื่องราวจากผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นแรงบันดาลใจให้ Pangilinan และ Pechardo เร่งศึกษางานวิจัยนี้มากขึ้น และสำรวจโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่นี้ การใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของ antimicrobial ของต้น Bakong ทั้งคู่ได้ทำให้ต้นไม้น้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ กลายเป็นเต้านมเทียมที่ทั้งราคาเหมาะสมและยั่งยืน ที่กลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ให้พวกเขาสามารถเลือกได้ว่าอยากจะมีรูปลักษณ์และความรู้สึกแบบใดอย่างที่ตนเองต้องการ

“พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติและดีใจเป็นอย่างมาก ที่ Brakong ได้รับเลือกจาก JDA International ให้เป็น 1 ใน 20 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย ตอนนี้ Brakong ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ด้วยโอกาสนี้ พวกเราหวังว่าการที่พวกเราได้เข้ามาอยู่ในรอบสุดท้ายนี้ จะสามารถเพิ่มการตระหนักรู้แก่การรักษาโรคมะเร็งเต้านมและการออกแบบแบบหมุนเวียน”

Pangilinan และ Pechardo หวังว่าจะได้เปิดตัว Brakong เพื่อใช้งานจริงในอนาคตอันใกล้ ๆ นี้ เพื่อที่จะได้เป็นการให้ทางเลือกสำหรับผู้ที่หายจากมะเร็งเต้านม

ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่


ผู้เข้ารอบ 20 อันดับ (เรียงตามตัวอักษร)

 

ชื่อผลงาน

 

โซลูชัน

ประเทศ

Agro Biomaterials

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาขยะอาหาร  Argo Biomaterials Kit ประกอบไปด้วยส่วนผสมสำคัญที่ผู้ใช้งานสามารถสร้าง ไบโอพลาสติกจากขยะชีวภาพได้เองที่บ้าน

สเปน

AgZen-Cloak

AgZen-Cloak คือระบบสเปรย์ที่ใช้น้ำมันจากพืชมาเคลือบไม่ให้ของเหลวจากยาฆ่าแมลงกระจายออกจากพื้นผิวของพืช ซึ่งสเปรย์นี้จะช่วยปกป้องไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงสู่สิ่งแวดล้อมได้

สหรัฐอเมริกา

Airy Scoliosis Brace

Airy คือ เสื้อเกราะแก้ปัญหากระดูกสันหลังคด ที่ก้าวผ่านทุกขีดจำกัดของเสื้อเกราะแบบเดิม ๆ ในระยะยาว ทั้งด้านการผลิต การลดการยอมรับการรักษา และไม่สามารถรีไซเคิลได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรับแต่งเสื้อเกราะให้เหมาะสมได้ตามลักษณะทางกายภาพของตัวเอง และปรับแต่งได้ตามการเจริญเติบโตของร่างกายในระยะ 3 ปี ด้วยคุณสมบัติที่สามารถปรับแต่งได้ของ Airy

สหรัฐอเมริกา

Argo

Argo คือโครงการ open-source ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มอิสระให้กับนักว่ายน้ำที่มีความบกพร่องด้านการมองเห็น ด้วยการส่งสัญญาณเลี้ยวและทิศทางในสระว่ายน้ำ ผ่านการสั่นในรูปแบบต่าง ๆ

อิตาลี

Banoo

การเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำแบบผสมผสาน ที่จะสามารถเพิ่มการละลายออกซิเจนในน้ำได้มากถึง 10ppm และมีผลพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้เพาะเลี้ยงปลาได้มากถึง 78% เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่น ๆ

สวีเดน

Brakong

Brakong คืออวัยวะเทียมที่ยั่งยืน สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะสนับสนุนและส่งเสริมแก่ผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม ผ่านการติดตั้งและปรับแต่งเฉพาะบุคคลโดยทุกคนสามารถเลือกได้ว่าอยากจะมีรูปลักษณ์และความรู้สึกแบบใดตามที่ตนเองต้องการ

ฟิลิปปินส์

CareRare

CareRare คือระบบการวินิจฉัยโรคหรืออาการป่วยทางพันธุกรรม โดยเครื่องสามารถบอกผู้ใช้งานได้ว่าเป็นชนิดของโรคที่น่าสงสัยหรือไม่ โอกาสความน่าจะเป็นของโรคที่คล้ายคลึงกัน และให้คำแนะนำการติดตามผลอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ คำแนะนำการใช้ยา และการวินิจฉัยและการรักษาอื่น ๆ หากมีความจำเป็น

จีน

Dotplot

Dotplot คือเครื่องมือในการตรวจเช็คสุขภาพของเต้านมที่ให้คำแนะนำและช่วยนำแนวทางในการตรวจให้สามารถตรวจได้ด้วยตัวเองโดยสามารถใช้งานได้จากที่บ้าน ซึ่ง Dotplot ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกก่อนตรวจพบโรคมะเร็งเต้านม ด้วยการสนับสนุนให้ผู้หญิงเริ่มหมั่นตรวจสอบตัวเองอย่างสม่ำเสมอและเป็นกิจวัตร

สหราชอาณาจักร

Hatch

Hatch ช่วยลดข้อจำกัดทางร่างกาย สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังเผชิญปัญหาในการขยับร่างกายและความเจ็บปวด ด้วยการช่วยเพิ่มความใกล้ชิดของคุณแม่และลูก ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับคุณแม่มือใหม่ในการดูแลเด็กแรกเกิดได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะช่วงหลังคลอดในระยะ C-Section

นิวซีแลนด์

Ivvy

Ivvy แทนที่เสาน้ำเกลือด้วยอุปกรณ์ที่สามารถสวมใส่ได้ ที่มอบความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วยและสามารถเคลื่อนที่ได้ง่ายมากกว่าอีกด้วย

เบลเยียม

Low Temperature Evaporation

ระบบที่นำความร้อนเหลือทิ้งมาบำบัดของเหลวอันตรายที่ได้มาจากอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น จากโรงหล่อ โรงงาน และบริษัทรีไซเคิล

สวีเดน

Méadú

Méadú ช่วยควบคุมและพัฒนาความวิตกกังวลในคณิตศาสตร์ของนักเรียนอายุระหว่าง 7 ถึง 12 ปีให้เหมาะสม ผ่านการเรียนคณิตศาสตร์ที่สามารถมีปฎิสัมพันธ์ได้ โดยคุณสมบัติหลักของอุปกรณ์จะทำหน้าที่เป็นตารางสูตรคูณที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ด้วย ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ได้ถึงสูตรคูณแม่ 12

ไอร์แลนด์

Polyformer

Polyformer คือเครื่องจักรที่สามารถรีไซเคิลพลาสติกให้เป็นเส้นใยพลาสติกสำหรับ 3D printer ซึ่ง Polyformer ช่วยลดการบริโภคพลาสติก และในขณะเดียวกันยังสามารถผลิตเส้นใยพลาสติกสำหรับ 3D printer ในราคาถูกได้อีกด้วย

แคนาดา

Proteus Controller

Proteus Controller ถูกออกแบบมาเพื่อให้เกมเมอร์ที่เป็นผู้พิการสามารถเข้าถึงเกมได้ด้วยส่วนประกอบชุดแบบตัวต่อ ที่สามารถประกอบเข้าหากันได้ไม่จำกัดรูปแบบ

ไอร์แลนด์

R2Home

ชุดเซ็นเซอร์ที่มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการฟื้นตัวของแบตเตอรี่ที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศ

 

สวิตเซอร์แลนด์

Rehabit

Rehabit ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นนักบำบัดส่วนตัวที่บ้านของผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 4 ตัว ที่จะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูร่างกายส่วนบน

สิงคโปร์

Rollerball Itch Relief

อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยผู้ป่วยผิวหนังอักเสบเพื่อจัดการกับอาการคันไม่พึงประสงค์ ด้วยพื้นผิวของ rollerball ที่ให้ความรู้สึกเหมือนการเกา ในขณะที่กลิ้งอุปกรณ์จะทำให้มั่นใจได้เลยว่าผิวหนังจะไม่เป็นแผลฉีกขาด

สิงคโปร์

SmartHeal

SmartHeal คือเซนเซอร์ตรวจวัดค่า pH ที่ติดกับผ้าปิดแผลที่มีความแม่นยำ และราคาเป็นมิตรโดยการวัด pH จะสามารถทำให้ตรวจสอบสภาพแผลและตรวจจับการติดเชื้อได้โดยไม่ต้องลอกผ้าปิดแผลออกทำให้สามารถลดการฉีกขาดของเนื้อเยื่อได้

โปแลนด์

Somnum

Somnum คือชุดของหน้ากากดมยาสลบขนาดต่างๆ ที่พอดีสำหรับสัตว์เลี้ยงในคลินิกสัตวแพทย์ โดยมีการครอบคลุมที่พอดีเพื่อป้องกันการรั่วไหลของก๊าซ และป้องกันไม่ให้สัตวแพทย์สูดดมยาสลบเข้าไป

นิวซีแลนด์

TrashBoom

เครื่องกีดขวางลอยน้ำที่สามารถหยุดหรือนำทางขยะพลาสติกในแม่น้ำได้

เยอรมนี


ทำความรู้จักกับคณะกรรมการผู้คัดเลือกผู้เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย

ดาวน์โหลดรูปภาพเพิ่มเติมได้ ที่นี่

Kay Yeong

หัวหน้าวิศวกร

Kay เป็นหัวหน้าวิศวกรด้านเทคโนโลยีของ Dyson ผู้ดูแลด้านการค้นหาความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และความสามารถด้านนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาวิศวกรรมของ Dyson

“การได้เห็นความท้าทายมากมายจากทั่วโลกเป็นเรื่องที่น่าสนใจเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความท้าทายที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหาที่ผมไม่เคยรู้มาก่อน อีกทั้งยังเป็นเรื่องดี เมื่อผู้เข้าแข่งขันจากหลากหลายประเทศพบกับปัญหาที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน ความหลากหลายทางความคิดคือสิ่งที่ทำให้การประกวดนี้ยิ่งน่าตื่นเต้น”

Robert Tweedie

ผู้จัดการฝ่ายออกแบบ

Robert Tweedie เป็นผู้จัดการฝ่ายออกแบบของ Dyson ซึ่งดูแลด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ของ Dyson โดยเขาเริ่มทำงานที่ Dyson ทันทีหลังเขาสำเร็จการศึกษาในปี 2550 ซึ่งเขาได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในหมวดผลิตภัณฑ์ดูแลพื้น การดูแลสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ปัจจุบันเขาทำงานภายใต้ทีม Dyson New Concepts ซึ่งช่วยคิดค้นผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ในอนาคตที่จะช่วยก้าวข้ามทุกขีดจำกัดไปสู่สิ่งที่เป็นไปได้

“มีปัญหามากมายในโลกที่ต้องแก้ไข และรางวัล James Dyson Award เปรียบเสมือนศูนย์บ่มเพาะที่ช่วยพัฒนานวัตกรรมให้ก้าวกระโดดไปสู่การแก้ปัญหาใหญ่ๆ บางอย่างได้”

Sam Dill

วิศวกรด้านความยั่งยืน

Sam เป็นหัวหน้าวิศวกรด้านความยั่งยืน เดิมทีเขามาจากดินแดนเบอร์มิวดา แต่ด้วยความหลงใหลในการออกไปท่องโลกว้าง Sam จึงมาทำงานร่วมกับ Dyson ในฐานะนักศึกษาฝึกงานด้านวิศวกรรม และอยู่กับ Dyson มาจนถึงทุกวันนี้

“เนื่องจากมีการส่งผลงานมาจากทั่วโลก กรรมการจึงได้สัมผัสกับแนวคิดที่หลากหลาย ซึ่งบางส่วนจะเน้นไปที่ปัญหาที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อน ทั้งหมดมีแนวทางแก้ไขที่แปลกใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการทำงานแบบทีมที่ยอดเยี่ยมด้วยทักษะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านธุรกิจ การนำเสนอแนวคิดให้กันและกัน และการทำงานร่วมกัน”

Lucy Harden

ผู้จัดการฝ่ายออกแบบ

Lucy เป็นผู้จัดการอาวุโสฝ่ายออกแบบ ซึ่งคอยดูแลนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจาก Dyson มากด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ยานยนต์ และการออกแบบ

“การได้อ่านผลงานทั้งหมดจากผู้เข้ารอบและได้เห็นความมุ่งมั่นและความพยายามอันน่าทึ่งของพวกเขาถือเป็นสิ่งที่พิเศษมาก การร่วมถกกันระหว่างกรรมการท่านอื่นๆ ว่าใครควรติดท็อป 20 อันดับก็เป็นกระบวนการที่น่าสนุกเช่นกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายนี้นำไปสู่การสนทนาที่ยอดเยี่ยม”

Shalimar Ali

วิศวกรไฟฟ้า

Shalimar เป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรไฟฟ้าจาก Dyson ซึ่งดูแลด้านการผสานรวมซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ของ Dyson มีความพิเศษ โดยเธอมีความหลงใหลในออโตเมชั่นหรือระบบอัติโนมัติ เปลี่ยนกิจกรรมที่แสนน่าเบื่อให้กลายเป็นระบบได้อย่างง่ายดายเพียงแค่ปลายนิ้ว

“ที่ Dyson เราแก้ปัญหาที่คนอื่นมักมองข้าม รางวัล James Dyson Award จะช่วยให้วิศวกรรุ่นใหม่สามารถแก้ปัญหาที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อตัวเขาหรือสังคมของพวกเขาได้ ซึ่งนั้นคือค่านิยมที่ Dyson ยึดถือ”

Ely Jackson

นักศึกษาปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์

Ely กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในสถาบัน Dyson Institute of Engineering and Technology โดยเธอเรียน 2 วันต่อสัปดาห์ที่สถาบัน และทำงานกับ ทีมของ Dyson 3 วันต่อสัปดาห์ เธอเพิ่งเสร็จสิ้นจากการทดลองทำงานในฝ่าย New Category Electronics Hardware ซึ่งเป็นผลมาจากการหมุนเวียนตำแหน่งงาน

“ในฐานะนักศึกษา การได้เห็นว่าเทคโนโลยีวิศวกรรมใหม่ๆ สามารถทำให้ไอเดียในความคิดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริงได้นั้นสร้างแรงบันดาลใจให้ฉันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านความยั่งยืน สุขภาพ และการศึกษา”

มูลนิธิ James Dyson Foundation

รางวัล James Dyson Award คือการแข่งขันด้านการออกแบบระดับนานาชาติประจำปีที่เปิดรับนักศึกษาหรือศิษย์เก่าด้านการออกแบบและวิศวกรรมมาร่วมแข่งขัน นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการในปีพ.ศ. 2548 รางวัลดังกล่าวได้ให้ทุนสนับสนุนการประดิษฐ์เชิงพาณิชย์แก่สิ่งประดิษฐ์กว่า 300 รายการ โดยรางวัล James Dyson Award อยู่ภายใต้มูลนิธิ James Dyson ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลในระดับนานาชาติจากผลกำไรของ Dyson ที่มุ่งมั่นสนับสนุนวิศวกรรมศาสตร์และการศึกษา

โดยพันธกิจหลักของมูลนิธิคือการส่งเสริมวิศวกรและนักแก้ปัญหารุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นให้นำความรู้ความสามารถ รวมถึงคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ปัจจุบัน James และมูลนิธิ James Dyson ได้ให้การสนับสนุนเงินถึง 12 ล้านปอนด์ให้แก่ Imperial College London เพื่อก่อตั้ง Dyson School of Design Engineering และเงินจำนวน 8 ล้านปอนด์ ให้แก่ Cambridge University เพื่อก่อตั้ง Dyson Centre for Engineering Design และตึก James Dyson

นอกจากนี้มูลนิธิ James Dyson ยังมีการเปิดเวิร์คช็อปหุ่นยนต์ โดยวิศวกรของ Dyson และเป็นแหล่งข้อมูลด้านการศึกษาฟรีอีกด้วย ซึ่งรวมถึงการเปิดตัว Engineering Solutions: Air Pollution ล่าสุดที่แนะนำให้คนหนุ่มสาวเรียนรู้เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและบทบาทของวิศวกรรมในการหาแนวทางแก้ไข

รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์และชุมชนท้องถิ่นในเมือง Malmesbury ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน Dyson ในสหราชอาณาจักรอีกด้วย มูลนิธิเริ่มก่อตั้งศูนย์มะเร็ง Dyson Cancer Centre ณ โรงพยาบาล Royal United ในเมือง Bath พร้อมให้การสนับสนุนด็อกเตอร์ Claire Durrant ในฐานะ Race Against Dementia Dyson Fellow ในการเร่งหาวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง

ช่องทางการติดตาม เว็บไซต์, Instagram, Twitter และ YouTube

เกี่ยวกับการประกวด

โจทย์

ออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยปัญหานี้อาจเป็นสิ่งที่เราพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันหรือเป็นปัญหาระดับโลกก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือวิธีการแก้ปัญหาต้องมีประสิทธิภาพและแสดงให้เห็นถึงการคิดเชิงออกแบบ

ขั้นตอนการตัดสิน

ผู้เข้าประกวดจะถูกคัดเลือกในระดับประเทศโดยคณะกรรมการอิสระและวิศวกรจาก Dyson โดยในแต่ละประเทศจะเฟ้นหาตัวแทนเพื่อหาผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศสองอันดับ จากนั้นวิศวกรจาก Dyson จะทำการคัดเลือก 20 ผู้เข้ารอบในระดับประเทศเพื่อทำการคัดเลือกต่อไปในระดับนานาชาติ ซึ่งผลงานจากผู้เข้ารอบทั้ง 20 โครงการจะได้รับการพิจารณาโดย James Dyson เพื่อคัดเลือกหาผู้ชนะในระดับนานาชาติต่อไป

รางวัล

· รางวัลชนะเลิศระดับนานาชาติ คัดเลือกโดย James Dyson รับเงินรางวัลสูงสุดมูลค่า 1,330,000 บาท*

· รางวัลรองชนะเลิศระดับนานาชาติ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท*

· รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ รับเงินรางวัลมูลค่า 222,000 บาท*


No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Bangkokfocusnews.com ข่าวออนไลน์