เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร (Cardiovascular Disease and Diabetes) - Bangkokfocusnews.com : ข่าวประชาสัมพันธ์ออนไลน์

Latest News 📢

Saturday 14 May 2022

เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร (Cardiovascular Disease and Diabetes)



เบาหวานเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างไร (Cardiovascular Disease and Diabetes) 

โรคเบาหวานเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardiovascular Disease and Diabetes) ร้อยละ 68 ของผู้ป่วยเบาหวาน อายุ 65 ปีขึ้นไปจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจ และ 16% เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานมากกว่า 2-4 เท่าสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาถือว่าโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในเจ็ดปัจจัยที่ควบคุมได้ที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ทำไมผู้ป่วยเบาหวานถึงเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ?

ความดันโลหิตสูง (hypertension)
ความดันโลหิตสูง ถือเป็นปัจจัยหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดเกิดการเสียหายและเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง อุดตัน มีผลการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความดันโลหิตสูง และภาวะดื้ออินซูลิน เมื่อผู้ป่วยมีทั้งโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานซึ่งเป็นอาการร่วมกันความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า

ระดับคลอเรสเตอรอลผิดปกติ และระดับไขมันไม่ดี LDL สูง
ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปัญหาไขมันในเลือดร่วมด้วย ระดับไขมัน ไม่ดี LDL สูง ระดับไขมัน ดี HDL ต่ำ เป็นปัจจจัยให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังเป็นลักษณะของความผิดปกติของไขมันที่เกี่ยวข้องกับการดื้ออินซูลินที่เรียกว่าไขมันในเลือดสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูงจากเบาหวานในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะอ้วน Obesity
ภาวะอ้วนคือปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และมีความสัมพันธ์อย่างมากเกี่ยวกับภาวะดื้ออินซูลิน
ขาดการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ สำหรับภาวะดื้อต่ออินซูลินและโรคหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก สามารถป้องกัน หรือชะลอการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ พร้อมทั้งการลดความดันโลหิตช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้

การออกกำลังกาย
สำหรับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวม American Heart Association แนะนำ: การออกกำลังกายกิจกรรมแอโรบิค อย่างน้อย 150 นาทีหรือกิจกรรมแอโรบิก 75 นาทีต่อสัปดาห์ รวมกับกิจกรรมเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ สามารถส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และสุขภาพหัวใจ

ภาวะควบคุมน้ำตาลที่ไม่ดี
การควบคุมน้ำตาลที่ไม่ดี หรือสูงเกินไป หรือควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในช่วงปกติ เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่จะช่วยลดการอักเสบในหลอดเลือด ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเพิ่มขึ้นกว่าปกติทำให้เกิดความหนืดของหลอดเลือดแดงส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของเลือดช้า และเมื่อน้ำตาลและไขมันไปเกาะติดกับผนังหลอดเลือดสะสมเป็นปริมาณมากขึ้น จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหากคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแตกออกและกลายเป็นลิ่มเลือด จะส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ หากเป็นเบาหวานควรดูแลให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรปรึกษาแพทย์ถึงความจำเป็นต้องใช้ยา หรือพบแพทย์เพื่อจัดการกับน้ำตาลในเลือด

การสูบบุหรี่
คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวาน หรือไม่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ผู้ที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือโรคเบาหวานร่วมกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งอย่างจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดการหรือควบคุมปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจช่วยชะลอการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อดูแลระดับน้ำตาล และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ทันการ

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad


Bangkokfocusnews.com ข่าวออนไลน์